การให้ความร้อนเฉพาะที่ hyperthermia กี่องศาช่วยรักษามะเร็ง

ด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำหน้าเลยทำให้ทุก ๆ วันนี้ชีวิตประจำของเรามีสิ่งต่าง ๆ เข้ามาอำนวยความสะดวกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการเดินทาง การกิน การใช้ชีวิต การทำธุรกรรมทางการเงิน ไม่เว้นแม้แต่การรักษาพยาบาล เทคโนโลยีก็พร้อมเข้ามาตอบโจทย์การรักษาได้อย่างดีเยี่ยม แล้ววันนี้ Science and Technology News จะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับ hyperthermia ตัวช่วยสำคัญของการรักษามะเร็งกันค่ะ

Hyperthermia ช่วยรักษามะเร็งได้ยังไง?

โรคมะเร็งเป็นโรคร้ายที่คร่าชีวิตคนไทยเป็นอันดับ 1 และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ในทุก ๆ ปี แล้วยิ่งตอนนี้มีโควิด-19 เข้ามาอีก นั่นยิ่งทำให้ร่างกายของคนเราอ่อนแอขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยชนิดของมะเร็งที่พบมากที่สุด 5 ชนิด ได้แก่ มะเร็งเต้านม, มะเร็งปอด, มะเร็งตับและมะเร็งท่อน้ำดีม, มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก และมะเร็งปากมดลูก โดยปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งก็มีหลายอย่าง อาทิ อายุ กรรมพันธุ์ การใช้ชีวิต การใช้สารเคมี เป็นต้น

ซึ่งหนึ่งในวิธีการรักษามะเร็ง คือ Hyperthermia (ไฮเปอร์เทอร์เมีย) ที่ผ่านมาการให้ความด้วยเครื่อง Thermotron RF-8 เทคนิคการรักษามะเร็งด้วยการอาศัยความร้อนจากคลื่นวิทยุความถี่ 8 MHz เพื่อเพิ่มอุณหภูมิให้กับร่างกายหรือเนื้อเยื่อเฉพาะที่ สำหรับอุณหภูมิที่ใช้สำหรับการรักษามะเร็งอยู่ที่ 41 – 43 องศาเซลเซียส โดยจะให้ความร้อนแบบเป็นบริเวณ ที่ช่วยเสริมการรักษาโรคมะเร็งร่วมกับการใช้ยาเคมีบำบัดและรังสีรักษา (สำหรับคนที่ไม่ได้มีการรักษาอย่างอื่นร่วม จะไม่สามารถใช้ Hyperthermia ได้)

Hyperthermia ช่วยรักษามะเร็งได้ยังไง?
Hyperthermia ช่วยรักษามะเร็งได้ยังไง?

ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ของ Thermotron RF-8


โดยหลักการที่ทำความเข้าใจง่าย ๆ ของไฮเปอร์เทอร์เมีย นั่นคือการรักษาร่วมกันกับความร้อน คือการทำให้ร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้นกว่าร่างกายปกติ เนื่องจากความร้อนที่เกิดขึ้นจะช่วยเพิ่มโอกาสให้เซลล์มะเร็งถูกทำลายด้วยรังสีมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้เซลล์มะเร็งมีการดูดซึมยาเคมีบำบัดได้ดีขึ้นนั่นเอง ซึ่งการใช้ Hyperthermia จะต้องทำร่วมกับการรักษาแบบอื่น ๆ เนื่องจากการใช้ความร้อนอย่างเดียวยังไม่เป็นมาตรฐานหลักในการรักษา

ในส่วนของ Thermotron RF-8 จะเป็นการให้ความร้อนแบบทั่ว ๆ ไป ตรงบริเวณที่วางแผ่นสร้างความร้อน เช่น การให้ความร้อนบริเวณช่องท้อง อุ้งเชิงกราน หรือช่องอก แต่ทั้งนี้ก็ยังไม่สามารถให้ความร้อนแบบเฉพาะจุดที่เจาะจงได้แบบชัดเจนได้ โดย Thermotron RF-8 มาพร้อมกับผลข้างเคียงหลังการรักษาที่พบบ่อย ได้แก่

  1. มีอาการปวดตรงบริเวณที่ให้ความร้อน (Subcutaneous pain)
  2. Burn or Bleb อาการคล้าย ๆ กับแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก หรือมีตุ่มน้ำเกิดขึ้น
  3. มีอาการอ่อนเพลีย

Thermotron RF-8 เหมาะกับใคร มีข้อจำกัดหรือไม่?


สำหรับการรักษามะเร็งด้วย Thermotron RF-8 จะมีไว้สำหรับการรักษาผู้ป่วยที่มีเนื้องอกที่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยการฉายรังสีเพียงอย่างเดียว ผู้ป่วยที่มีโรคกลับมาเป็นซ้ำ ผู้ป่วยที่ต้องการตอบสนองจากการรักษาด้วยรังรักษา หรือยาเคมีบำบัด และผู้ป่วยที่ต้องการประคับประคองเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา สำหรับกลุ่มโรคมะเร็งที่เหมาะสำหรับการรักษา ได้แก่

  • มะเร็งผิวหนังบางชนิด
  • มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
  • มะเร็งปากมดลูก
  • ก้อนต่อมน้ำเหลืองบริเวณศีรษะและลำคอ
  • มะเร็งเต้านมที่กลับมาใหม่
Thermotron RF-8 เหมาะกับใคร มีข้อจำกัดหรือไม่?
Thermotron RF-8 เหมาะกับใคร มีข้อจำกัดหรือไม่?

ซึ่งในส่วนของการรักษาทางโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ได้มีการชี้แจ้ง วิธีการรักษาดังกล่าวไม่สามารถทำลายมะเร็งได้ทุกตำแหน่งหรือทุกระยะ ทั้งนี้จะต้องอาศัยปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วย ส่วนข้อจำกัดและข้อควรระวังสำหรับการรักษา มีดังนี้

  • ผู้ป่วยที่ใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ (cardiac pacemaker or defibrillator implanted) ที่อาจเป็นสาเหตุทำให้อุปกรณ์ทำงานผิดปกติได้
  • ผู้ป่วยที่มีอุปกรณ์เทียมโลหะอยู่ในร่างกาย หรือมีชิ้นส่วนที่เป็นโลหะฝังอยู่บริเวณที่ให้ความร้อน อาจส่งผลให้ความร้อนรอบ ๆ โลหะมีมากเกินไป หรือเกิดการเผาไหม้ผิวหนังได้
  • ต้องเป็นเนื้องอกที่ไม่ได้อยู่ใกล้ตาหรือเนื้องอกใต้สมอง
  • ผู้ป่วยที่ไม่สามารถให้ความร่วมมือได้
  • ควรระวังในผู้ป่วยที่อ้วนหรือมีชั้นไขมันที่หน้าท้องหนา ในกรณีที่ให้ความร้อนตรงบริเวณดังกล่าว

ถึงแม้ว่าในตอนนี้หรือในอนาคตจะมีนวัตกรรมใหม่ ๆ เข้ามาเพื่อเอื้ออำนวยต่อการรักษาโรคมะเร็ง แต่ทว่าโรคมะเร็งก็ยังคงเป็นสิ่งที่น่ากลัว ที่สำคัญมะเร็งบางชนิดยังไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้อีกด้วย ดังนั้นทางที่ดีที่นอกจากจะระมัดระวังตัวเองให้มากที่สุดแล้ว สิ่งหนึ่งที่ไม่ควรมองข้ามคือการเลือกทำประกันมะเร็งเอาไว้ใช้คุ้มครอง เผื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินใด ๆ ขึ้นมา จะได้หาทางแก้ได้ง่ายกว่า มีไว้ยังไงก็อุ่นใจแน่นอน

About the author

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *