ทุกคนรู้ดีว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายมากขนาดไหน มิหนำซ้ำโรคร้ายนี้ไม่ได้ส่งผลเสียกับร่างกายเท่านั้น เพราะแม้แต่สภาพจิตใจก็มักถูกกัดกินไปทีละเล็กละน้อยเช่นกัน โดยประเด็นนี้อะโดบีเป็นผู้เผยเองเลยว่าโควิด ส่งผลต่อ ‘การทำงาน’ และ ‘ชีวิตส่วนตัว’ มากจริง ๆ
คำว่า เวลาส่วนตัวกลายเป็นเวลางาน ไม่เกินจริง
โดยอะโดบีพบข้อมูลสำคัญว่าทุกวันนี้ผู้คนทั่วโลกรู้สึกกดดัน เครียด และเหนื่อยล้ามากขึ้น เนื่องมาจากการทำงานที่เรียกว่า Work From Home ที่ถึงแม้ว่าการทำงานแบบนี้จะช่วยยืดหยุ่นเวลาทำงานได้มากขึ้น (ลดเวลาเดินทาง) แต่ในเวลาเดียวกันองค์กรต่าง ๆ ก็ตั้งความคาดหวังไว้ที่พนักงานมากขึ้นเช่นกัน พนักงานต้องพร้อมเสมอ ทำให้หลายคนหล่อหลอมเอาเวลาทำงานกับเวลาส่วนตัวมาอยู่ด้วยกันเสียแล้ว (แน่นอนว่าไม่ใช่เรื่องดี)

ซึ่งจากการสำรวจความคิดเห็นจากคนจำนวน 5,500 คนที่เป็นพนักงานบริษัท พบว่า การทำงานที่บ้านส่งผลให้เวลาส่วนตัวกลายเป็นเวลาทำงานไปโดยปริยาย ที่สำคัญอะโดบียังพบว่า 49% ของพนักงานบริษัท และ 56% ของผู้ประกอบการ SME ระบุว่า ทุกวันนี้พวกเขาเหล่านั้นใช้เวลาการทำงานยาวนานกว่าเดิม กล่าวง่าย ๆ คือ พนักงานบริษัททำงานโดยเฉลี่ย 44.9 ชั่วโมง/สัปดาห์ ส่วนผู้ประกอบการ SME ใช้เวลา 45.1 ชั่วโมง/สัปดาห์ ซึ่งมากกว่าชั่วโมงการทำงานปกติ
และด้วยเวลาการทำงานที่มากขึ้น สิ่งที่ตามมาติด ๆ กลับไม่ใช่ผลงานที่ดี แต่กลายเป็นความกดดันล้วน ๆ พนักงานจะต้อง ‘พร้อมติดต่อได้เสมอ’ แม้กระทั่งเลยเวลาเลิกงานไปแล้ว ซึ่งนั่นก็ทำให้พวกเขารู้สึกกดดันที่จะต้องตอบกลับอีเมลและแก้ไขปัญหางานให้ลูกค้าแม้จะเลยเวลาทำงานไปแล้วก็ตาม
ท้ายสุดจบลงด้วยภาวะหมดไฟ ลาออก
แน่นอนว่าภาวะหมดไฟในการทำงาน (burnout syndrome) ก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากได้รับการกดดันมาแบบหนักหน่วง ตกอยู่ในเหตุการณ์กลืนไม่เข้าคายไม่ออก และเรื่อง ‘การลาออก’ ก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่อีกต่อไป ที่สำคัญก็ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกที่จะมีพนักงานตัดสินใจลาอกเพิ่มมากขึ้น โดยกระแส ‘การลาออกครั้งใหญ่’ ในช่วงเดือนเมษายนเพียงเดือนเดียว เกิดขึ้นที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยทางกระทรวงแรงงานของสหรัฐได้มีการรายงานว่า พนักงงานกว่า 4 ล้านคนได้ลาออกจากงาน และที่แน่ชัดคือกระแสนี้ยังคงดำเนินต่อไป

นอกจากนี้ยังมีพนักงานกว่า 35% ระบุว่าตนเองมีแผนที่จะเปลี่ยนงานใหม่ในปีหน้า และอีก 61% ระบุเหตุผลที่ต้องการลาออก เนื่องจากต้องการที่จะออกแบบตารางชีวิตของตัวเองให้มีอิสระมากกว่าที่เป็นอยู่ ส่วนอีกเหตุผลของการลาออกทามกลางสถานการณ์โควิด ส่วนหนึ่งเป็นเพราะพนักงานต้องการเทคโนโลยีที่เอื้อต่อการทำงานมากขึ้น
เพราะเทคโนโลยีที่ล่าช้าก็เป็นอีกปัจจัยที่บั่นทอนความรวดเร็วในการทำงาน ซึ่งบางครั้งความล่าช้าก็ไม่ได้เกิดขึ้นจากตัวพนักงานเสมอไป หากแต่เป็นเพราะเทคโนโลยีที่ไม่อำนวยต่างหากล่ะที่เป็นปัญหา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำงานง่าย ๆ เช่น การจัดไฟล์งาน แบบฟอร์ม สัญญา ฯลฯ ที่พนักงานจะต้องเจียกเวลางานไม่ต่ำกว่า 2 ชั่วโมงในการเข้าไปจัดการการทำธุรการต่าง ๆ ซ้ำ ๆ ซึ่งหลายองค์กรมองว่าเรื่องนี้ไม่ได้มีความสำคัญมากนัก แต่ทว่าหากมองในมุมของพนักงาน เทคโนโลยีที่รวดเร็วนับเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับการทำงานในยุคดิจิทัล ที่จะช่วยให้พวกเขาทำงานได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
นอกจากนี้ผลการศึกษาของอะโดบียังชี้ให้เห็นอีกว่า พนักงานบริษัทเกินครึ่งพร้อมที่จะเปลี่ยนงานใหม่ หากที่ทำงานมีเครื่องมือและเทคโนโลยีการทำงานที่พร้อมกว่าที่เป็นอยู่ แต่ถึงอย่างไรก็ยังมีคนหลายกลุ่มที่เลือกจะ ‘กอดงานเอาไว้แน่นๆ’ ยอมที่จะทน ๆ กับการทำงานไปก่อน เพราะคิดว่าในช่วงนี้คงยากที่จะหางานทำใหม่ แถมไปที่ใหม่ไม่รู้จะได้รับโอกาสเหมือนที่ผ่านมาหรือไม่
แต่สิ่งสำคัญให้คุณนึกไว้เสมอว่าอยู่ตรงไหนแล้วบั่นทอนจิตใจ หมดไฟจนไม่อยากไปต่อ ก็อย่าฝืนตัวเองให้มากนัก เพราะบางทีผลลัพธ์อาจจะไม่เป็นแบบที่คุณต้องการ ทุกอย่างล้วนมีความเสี่ยงไม่ต่างจากการลงทุนสมัครตรงไม่ผ่านเอเย่นต์ แน่นอน